Skip to content
 

วิสัยทัศน์ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)

          เสาะหาสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มีนวัตกรรมที่พร้อมออกไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
 

 พันธกิจ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)

  • เสาะหาสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มีนวัตกรรมที่พร้อมออกไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
  • จัดการและประสานงาน เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทเริ่มแรกพร้อมจัดหาพื้นที่สำนักงาน ระบบ ข้อมูล ระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
  • สร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ระดมทรัพยากรทั้งภายในมหาวิทยาลัย ภาครัฐ เอกชน สมาคมธุรกิจ สถาบันการเงิน ให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาความรู้

กลยุทธ์การดำเนินงาน

มาตรการด้านสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การประกอบการเชิงพาณิชย์

  • สำรวจและวิเคราะห์ ผลงานวิจัย นวัตกรรม จัดทำข้อมูล ร่วมกับฝ่ายส่งเสริมงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยบูรพา รวมทั้งการแสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนและผลักดันในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  • ทำการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อผู้ประกอบธุรกิจในการนำผลงาน นวัตกรรม และองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์
มาตรการด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจรายบุคคล
  • ประชาสัมพันธ์โครงการเชิงรุกให้เข้าถึงตัวนิสิต นักศึกษา ศิษย์ อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา
  • มีกระบวนการคัดสรร โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายใน ภายนอก มหาวิทยาลัย รวมทั้งภาคเอกชน
  • ดำเนินการค้นหาและคัดสรร ผู้มีแรงบันดาลใจในการประกอบธุรกิจที่มีความพร้อมจะใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยี เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประกอบการอย่างมีภูมิคุ้มกัน
มาตรการด้านการร้างประสิทธิภาพของการบ่มเพาะให้ได้ตามเป้าหมาย
  • จัดตั้งที่ปรึกษาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้คำแนะนำในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วย
  • จัดที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ เพื่อให้คำปรึกษาด้านการเขียนแผนธุรกิจ การจัดตั้งบริษัท การดำเนินธุรกิจ ระบบบัญชีและภาษีอากร แก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ
  • จัดที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ผู้เข้ารับการบ่มเพาะรายบุคคล ตามสภาพปัญหาและความต้องการ
มาตรการด้านการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการประกอบการ
  • จัดระบบการติดตาม และบ่มเพาะรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง
  • ประสานความช่วยเหลือด้านที่ปรึกษา ด้านวิชาการ และด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง
  • แสวงหาความร่วมมือในการประกอบการ (การร่วมทุน)
มาตรการด้านการส่งเสริมชมรมนิสิตผู้ประกอบการให้เข้มแข็งและยั่งยืน
  • เสริมสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการประกอบธุรกิจผ่านทางคณะและภาควิชาอย่างทั่วถึง
  • ส่งเสริมให้เกิดความรู้ด้านการประกอบธุรกิจ
  • จัดระบบบริหาร และการวางแผนดำเนินงานของชมรมฯ โดยเป็นการมีส่วนร่วมของนิสิต
  • นำแผนกิจกรรมมาดำเนินการอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
  • จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ และการตลาด ในการประสานและให้ความช่วยเหลือแก่ชมรมฯ
มาตรการด้านการประสานงานกับเครือข่าย
  • มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่
  • มีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ที่ปรึกษาแผนธุรกิจ สร้างธุรกิจหรือร่วมกันต่อยอดธุรกิจระหว่างเครือข่าย
  • มีการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกัน